วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ความรัก ราศีธนู

ความรัก ราศีธนู

ชาวราศีธนูเป็นนักแสวงหาความรู้และชอบที่จะทำความเข้าใจกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวตลอดเวลา และชาวธนูเป็นคนที่มีความคิดและประสพการณ์มาก เป็นคนจริงใจ ไว้ใจได้ชาวราศีธนูถ้าคบใครก็จะคบอย่างลึกซึ้ง ใช้เวลาในการศึกษานิสัยใจคออยู่นานจนกว่าเขาจะไว้เนื้อเชื่อใจ นอกจากนี้ชาวธนูยังเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดี เป็นคนที่ชอบพบปะผู้คน ชอบความอิสระเสรี ชอบความท้าทาย นั่นแหละ…ชาวราศีธนูล่ะ
ความโรแมนติกแบบราศีธนู

ในเรื่องของความรัก ความโรแมนติกของชาวธนูนั้นจะเป็นไปแบบตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม เป็นไปตามธรรมชาติและขึ้นอยู่กับโอกาสความเหมาะสมของมัน ชาวธนูเป็นคนที่รักอิสระเสรี เขาจะไม่พะเน้าพะนอคนรักของเขาตลอดทั้งวัน แต่จะปล่อยให้เป็นอิสระ ใช้ชีวิตเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งก็ดูเป็นเรื่องที่ดีแต่บางครั้งก็อาจดูเหมือนเหินห่างกันเกินไป และเป็นสาเหตุของการนอกใจได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ชาวราศีธนูมักจะกลายเป็นแค่เพื่อนสนิทที่ดีที่สุดแทนที่จะเป็นอะไรได้มากกว่านั้น
ความรักของราศีธนู

ชาวราศีธนูเป็นคนโอบอ้อมอารีและมีน้ำใจต่อเพื่อนและคนรอบข้าง ชาวธนูเป็นคนที่ไม่ชอบทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและไม่ชอบรบกวนผู้อื่น ตรงกันข้ามเขามักจะชอบช่วยเหลือคนอื่นมากกว่า ชาวธนูเป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง เป็นคนที่น่าคบ ถ้าคุณอยากให้เขาดีกับคุณเช่นใด ก็จงทำดีกับเขาเช่นนั้น
ความสัมพันธ์แบบชาวราศีธนู

แม้ความรักจะเป็นสิ่งที่ดีและสวยหรูสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับชาวธนูแล้ว ความรักเป็นสิ่งที่ต้องคอยระวังให้ดี ความรักคือสิ่งที่ลึกลับและยากจะเข้าใจ เพราะชาวธนูไม่ใช่คนที่หวานแหววอะไรมากมายกับเรื่องความรัก เขามองว่าความรักก็เป็นเพียงเรื่องของอารมณ์ที่สุดท้ายก็ไม่พ้นเรื่องบนเตียง ดังนั้นเขาจึงไม่ค่อยกล้าคบหากับใครบ่อยนัก เพราะเขาเบื่อและไม่ค่อยชอบการเกี้ยวพาราสีมากนัก ความรักของชาวธนูจึงควรจะเริ่มต้นด้วยมิตรภาพระหว่างเพื่อนก่อน แล้วจึงค่อยๆเรียนรู้ทำความเข้าใจกันไปเรื่อยๆอันเป็นพื้นฐานของความรักที่ดีต่อไป
SEX กับราศีธนู

ชาวธนูเป็นคนธาตุไฟ มีความเร่าร้อนอยู่ในตัว ถ้าไม่พูดถึงเรื่องความรักที่ลึกซึ้งแล้ว ชาวธนูก็เป็นคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Sex อยู่มากพอดู เขาไม่อายในเรื่องนี้ถ้าไม่จริงจังและมีเงื่อนไขกับมันมากนัก เขาพร้อมเสมอ ชาวธนูชอบการพบปะสังสรรค์กับผู้คน เขาเป็นคนที่บริหารเสน่ห์ได้ดี และสำหรับคนรักของเขาจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง Sex ด้วยเพื่อที่ว่าทั้งเขาและคุณจะไปด้วยกันได้ดี แล้วอะไรหล่ะที่ชาวราศีธนูต้องการ ชาวธนูต้องการเพื่อนที่รู้ใจที่พร้อมจะไปกับเขาได้ทุกสถานการณ์ และไม่ทำให้เขาหนักใจหรือมีเรื่องเดือดร้อนถึงตัวเขา สำหรับคนรักของชาวธนูจะต้องเข้าใจและยอมรับในนิสัยที่รักอิสระเสรีของเขา ต้องไม่เป็นคนคิดมากหรืออ่อนไหวกับอะไรง่ายๆ เขาชอบคนที่ซื่อสัตย์ เปิดเผย หากคุณเป็นอย่างที่เขาต้องการหรือมีนิสัยที่คล้ายกัน คุณก็จะเป็นทั้งเพื่อนและคนรักของเขาด้วยในเวลาเดียวกัน

กฎหมายกับความรัก

กฎหมายกับความรัก

เรามักจะพูดถึงกฎหมายในแง่ของอำนาจและการบังคับใช้จนทำให้ดูประหนึ่งว่า ในวงล้อมของกฎหมายเต็มไปด้วยความเข้มงวดและบีบรัดผู้คน
ทำไมเราไม่มองกฎหมายในแง่ของความรักบ้าง ความรักที่ก่อให้เกิดสันติสุข ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจที่รักจรรโลงสังคมแห่งมนุษยชาติให้ยั่งยืนตราบชั่วกัลปาวสาน
ถ้ามองกฎหมายด้วยสายตาของพวกที่มองโลกในแง่ร้าย (Pessimist) กฎหมายดูออกจะแข็งกระด้าง บังคับและเคี่ยวกรำมนุษย์ไม่รู้จักหยุดรู้จักหย่อน
จึงใคร่เสนอให้ท่านมองกฎหมายด้วยสายตาของพวกที่มองโลกในแง่ดี (Optimist) ดูบ้าง
ท่านจะมองโลกในแง่ดีได้ ก็ต่อเมื่อท่านเกิดความรัก ซึ่งมิใช่ความรักฉันชู้สาว
แต่เป็นความรักในมวลมนุษย์ ไม่ว่าจะยากดีมีจน มีเพศ มีผิว มีเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม
ความรักชนิดนี้แทรกอยู่ในทุกอณูของโลก ก้อนหินทุกก้อน หยดน้ำทุกหยด และแผ่นดินทุก ตารางนิ้ว
ความรักเช่นว่านี้ ก่อให้เกิดความสงบ ก่อให้เกิดสันติสุข ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ไม่มีการฉ้อโกงกัน ไม่มีการทำร้ายและข่มเหงรังแกกัน
กฎหมายก็ก่อกำเนิดขึ้นมาด้วยความมุ่งหมายอันเดียวกัน คือ มุ่งที่จะให้เกิดความสงบ เกิดความความสันติสุขในสังคม มุ่งที่จะมิให้มนุษย์ทั้งหลายเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
กฎหมายจึงมีความสัมพันธ์กับความรักอย่างชนิดที่แยกกันไม่ออก
โลกในยุคดึกดำบรรพ์ เป็นโลกที่เต็มไปด้วยความมืดมน โหดเหี้ยมและทารุณ
มนุษย์ตกอยู่ในความหวาดกลัว แย่งชิง และทำลายล้างซึ่งกันและกัน
จวบจนกระทั่งมนุษย์สามารถรวมตัวกันเป็นหมู่เหล่าก่อตั้งสังคมหรือชุมชนขึ้น
จึงเกิดมีระเบียบ ข้อบังคับของสังคม หรือชุมชนเพื่อให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อย ไม่ขัดแย้งกัน
หากมีความขัดแย้งกันระหว่างสมาชิกในชุมชน ผู้เป็นใหญ่ในชุมชนนั้นก็จะช่วยไกล่เกลี่ยหรือวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท เพื่อให้ความขัดแย้งนั้นหมดสิ้นไป
ระเบียบ และคำชี้ขาดเช่นว่านี้แหละที่ต่อมาได้พัฒนาขึ้นกลายเป็นกฎหมายที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้
ส่วนผู้ชี้ขาดข้อพิพาทก็ได้พัฒนามาเป็นระบบการศาล ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนั่นเอง
แสดงให้เห็นว่ากฎหมายมีบทบาทอันสำคัญในการระงับข้อพิพาทหรือข้อโต้เถียงกัน ระหว่างสมาชิกในชุมชน
เมื่อข้อพิพาท หรือข้อขัดแย้งในชุมชนหมดไป ความรักระหว่างสมาชิกในชุมชนก็กลับมา สันติสุขและความสงบเรียบร้อยก็ยังคงอยู่ในชุมชน
อย่างนี้จะเรียกว่า กฎหมายมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรักให้เกิดขึ้นในสังคมก็เห็นจะไม่ผิดใช่ไหมครับ
เพราะความขัดแย้ง การโต้เถียงกันนำมาซึ่งความโกรธ ความเกลียดชังและความผูกพยาบาทจองเวร
แต่สิ่งเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยวิถีทางแห่งสันติ คือ วิถีทางแห่งกฎหมาย มิใช่วิถีทางแห่งกฎหมู่ หรือความรุนแรง
มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐ สามารถแก้ไขความรุนแรงได้ด้วยสันติวิธี ยอมอยู่ในระเบียบข้อบังคับ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าทำให้ตนเองต้องละเลิกความประพฤติประเภทใช้อารมณ์เอาแต่ใจตัว
มนุษย์รู้ดีว่าความประพฤติใช้อารมณ์และเอาแต่ใจตัวนั้น นำมาซึ่งความแตกแยก และทำลายสันติสุขในสังคม ก่อให้เกิดความผิดต่าง ๆ เช่น การฆ่า การทำร้ายร่างกาย การลักขโมย การเหยียดหยามดูหมิ่น ฉ้อโกง ยักยอก และการประพฤติผิดในกาม เป็นต้น
แม้แต่พี่น้องคลานตามกันมา ก็สามารถที่จะฆ่าฟันกันได้ เมื่ออารมณ์และความเห็นแก่ตัวเข้าครอบงำ เช่น การแย่งชิงทรัพย์สินมรดก ฆ่าฟันกันทั้งตระกูลก็มีให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ยิ่งมีอบายมุขเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ทำให้มนุษย์หลงไหลลืมตัว ขาดสติ ใช้อารมณ์และความหยาบช้า กระทำการต่าง ๆ นานาที่เป็นอันตรายต่อสังคม และต่อมนุษย์ด้วยกันเอง
มนุษย์จึงต้องสร้างกรอบให้ตัวเอง จะได้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง สร้างมาตรฐานความประพฤติและความดีงามเอาไว้เพื่อให้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ จะได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
นี่คือต้นกำเนิดของกฎหมายซึ่งเป็นระเบียบข้อบังคับของสังคม เป็นวิธีอันชาญฉลาด และมหัศจรรย์ของมนุษย์ที่ทำให้สังคมยืนยงมาตราบเท่าทุกวันนี้
ที่มหัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มนุษย์สร้างตัวบทกฎหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติตามก็ต้องอยู่ภายใต้กำหนดกฎเกณฑ์ที่ตนเป็นผู้สร้างขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายอย่างเดียวกัน
ความศรัทธาในความรักก่อให้เกิดความเคารพนับถือในตัวบทกฎหมาย ด้วยความเคารพนับถือตัวบทกฎหมายก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม
สังคมที่สงบสุข คือสังคมที่อบอวลไปด้วยความรักซึ่งกันและกันปราศจากการเบียดเบียน พยาบาทจองเวร และทำร้ายรังแกกัน
การลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ความประพฤติของสังคมเป็นไปเพื่ออบรมสั่งสอนให้เขากลับตนเป็นพลเมืองดี มิใช่เป็นไปด้วยความเคียดแค้น มุ่งที่จะตอบแทนแก้แค้นผู้กระทำผิดซึ่งมีแต่จะก่อศัตรูไม่รู้จบ
วิธีการลงโทษสมัยใหม่จึงมุ่งที่จะแก้ไขเยียวยาบุคคลให้สามารถร่วมกับผู้อื่นได้เป็นปกติสุขมิใช่ตราหน้าว่าเขาเป็นคนชั่วร้ายไม่มีทางแก้ไขเยียวยาได้
แต่แน่ละถ้าไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้จริงๆ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการสุดท้าย คือตัดออกจากสังคม ถือว่าเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนา
ตัวอย่างของกฎหมายที่อบอวลไปด้วยความรัก ความศรัทธาในมนุษยชาติ ก็คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
เจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มุ่งที่จะคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กเยาวชนและครอบครัว กับเพื่อนให้มีวิธีการสำหรับใช้แก่เด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาครอบครัวเป็นสำคัญ
ในคดีอาญานั้น ศาลเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาคดีอาญาที่เด็กและเยาวชนอายุกว่า 7 ปี และไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์กระทำผิด โดยกฎหมายบังคับให้ศาลหรือผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่ทุกคนคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็ก ที่จะให้การอบรมแก้ไขยิ่งกว่าการลงโทษ
นอกจากเรื่องสวัสดิภาพของเด็กเยาวชนและครอบครัวแล้วศาลจะต้องพยายามหาวิธีการสำหรับใช้แก่เด็กและเยาวชน ให้เหมาะสมด้วยความรักและความเข้าใจในตัวเด็กและเยาวชนผู้หลงผิด กล่าวคือ

ประการแรก มุ่งที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของสังคม
ประการที่สอง มุ่งที่แก้ไขเด็กและเยาวชนที่หลงผิดเป็นรายบุคคล
เหตุที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคม ก็เพื่อให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าเราแก้ไขเด็กและเยาวชนที่หลงผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดีไม่ได้ เขาก็จะกลายเป็นมะเร็งร้ายของสังคม ทำให้สังคมไม่มีความปลอดภัย มีสันติสุข
ฉะนั้น การแก้ไขเยียวยาเด็กและเยาวชนที่หลงผิด ศาลจึงต้องคำนึงถึงสังคมเป็นอันดับแรก ว่าสังคมจะได้รับความปลอดภัย และจะมีความสงบสุขหรือไม่
ขณะเดียวกัน ศาลก็ต้องคำนึงถึงเด็กเป็นรายบุคคลด้วยว่าจะแก้ไขเด็กและเยาวชนที่หลงผิดให้ได้รับสิ่งที่ดีขึ้น หรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร
เปรียบก็เหมือนกับน้ำเน่าหรือน้ำเสียมาใส่ในแก้วน้ำสะอาด
น้ำสะอาดในแก้วนั้นจะกลายเป็นน้ำสกปรก ที่ดื่มไม่ได้ในทันทีทันใด
เช่นเดียวกันกับการที่ปล่อยเด็กและเยาวชนที่หลงผิด โดยมิได้แก้ไขให้ดีขึ้นให้เข้าไปอยู่ร่วมในสังคมที่มีความสงบเรียบร้อย เขาก็จะเข้าไปทำลายสังคมนั้น หรือทำให้สังคมนั้นไม่มีความปลอดภัย
แต่ถ้าเราแก้ไขเด็กและเยาวชนที่หลงผิดนั้นให้กลับตนเป็นพลเมืองดีได้
ก็เหมือนกับการทำน้ำเสียให้เป็นน้ำสะอาด เมื่อน้ำสะอาดแล้วก็สามารถนำไปใส่ในแก้วน้ำสะอาด ปะปนกับน้ำสะอาดในแก้วนั้นแล้วก็สามารถดื่มได้โดยไม่เป็นอันตราย หรือก่อให้เกิดความตะขิดตะขวงใจ
ในส่วนที่เกี่ยวกับคดีครอบครัวนั้น ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัว เช่น คดีหย่า คดีฟ้องขอให้รับรองบุตร คดีฟ้องขอเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร คดีรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งศาลจะใช้การไกล่เกลี่ยเป็นหลัก โดยศาลอาจไกล่เกลี่ยเองหรือตั้งคณะผู้ไกล่เกลี่ยก็ได้ การดำเนินคดีต้องคิดถึงสวัสดิภาพของบุตรผู้เยาว์และครอบครัวเป็นสำคัญ
งานของศาลเยาวชนและครอบครัว จึงเป็นงานที่ต้องอาศัยความรักความเมตตา และความเข้าใจในตัวเด็กและเยาวชนที่หลงผิดรวมทั้งครอบครัวที่มีปัญหาเป็นอย่างสูงยิ่ง
เป็นงานที่จะใช้ระเบียบข้อบังคับแต่เพียงอย่างเดียวหาได้ไม่
แต่จะต้องใช้ความยืดหยุ่น การดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการประกอบกับมนุษยธรรมและกุศลจิตเป็นส่วนประกอบอันสำคัญ
จะต้องเข้าใจในเบื้องแรกว่า มนุษย์ปุถุชนย่อมมีความผิดพลาดยิ่งเป็นผู้อ่อนด้อยด้วยสติปัญญาและวัย ก็ยิ่งผิดพลาดมาก บาปเคราะห์ที่เด็กและเยาวชนก่อขึ้น ส่วนมากผู้ใหญ่เป็นผู้สร้างรอยบาปไว้ให้ และผลร้ายตกแก่เด็กและเยาวชน
เช่น พ่อแม่มีลูกโดยไม่ตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดมาแล้วก็ไม่รับผิชอบ ไม่ให้การเลี้ยงดู
พ่อแม่มีฐานะยากจน ไม่สามารถให้การเลี้ยงดูลูกได้
พ่อแม่ไม่มีโทสะจริต มีโมหะจริต ทะเลาะเบาะแว้งกัน แยกจากกัน ทิ้งลูกไว้ให้เผชิญชะตากรรม ฯลฯ
เหล่านี้เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้ใหญ่สร้างชะตากรรมให้เกิดแก่เด็ก ทำให้เด็กมีชีวิตอยู่ด้วยความมืดมน มีจิตใจพิการขาดวิ่น
“พิการทางกาย ยังดีกว่าพิการทางใจ และกันดารความรัก” เพลงเพราะๆ ของคุณสุเทพ วงศ์กำแหง ก็เคยร้องเอาไว้
เมื่อครอบครัวมีปัญหาทำให้เด็กและเยาวชนนี้หลงผิดไปเพราะเป็นโรคขาดรักและพิการทางจิตใจ
สังคมก็ต้องเยียวยาด้วยการให้ความรัก ความเมตตาและความเข้าใจกับเขาเหล่านั้น
นี่คือการใช้กฎหมายควบคู่ไปกับความรัก ซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวใช้อยู่ในปัจจุบันนี้

ชื่อเสียงเรียงนามสำคัญไฉน?



******************************

คัดลอกมาจาก


กฎหมายกับความรัก
อาจารย์วิชา มหาคุณ
จาก วารสารสภาทนายความ

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

CD187-เรื่อง 28 กรณีศึกษา ตายแล้วเกิดในประเทศไทย

CD187-เรื่อง 28 กรณีศึกษา ตายแล้วเกิดในประเทศไทย

โดย คุณสุตทยา วัชราภัย http://www.palungjit.com/club/jochokrub/6764/
ตอนที่ ๑หลักฐานเรื่องตายแล้วเกิดที่มีอยู่เดิม

ขอเชิญรับฟังการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อเป็นศิริมงคล ป้องกันภัยวิบัติ

http://www.geocities.com/buddamontra/

ขอเชิญรับฟังการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อเป็นศิริมงคล ป้องกันภัยวิบัติ

ฟังธรรมะมากแก่ผู้แสวงหาธรรมเป็นหลัก http://www.thaitv3.com/what_up/bright_data/nakontam/nkt_main.html

ไฟล์เสียงธรรมมากทุกแหล่งให้สืบค้น รวมเสียงบรรยายธรรม และเสียงอ่านหนังสือ-DOWNLOAD FREE หลายพันไฟล์
http://www.palungjit.com/club/jochokrub

การทำบุญของมนุษย์ได้ดี

"บุญ"คืออะไร คำตอบก็คือ บุญ หมายถึงการ"ให้" หรือการทำสิ่งที่ดี ลักษณะของบุญ มี 2 แบบคือ "อามิสบูชา" และ "ปฏิบัติบูชา"

อามิสบูชา หมายถึง การบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสาวกด้วยเครื่องบูชาต่างๆ นับตั้งแต่ ถวายภัตตาหาร ผลไม้ ยารักษาโรค ดอกไม้ ธูปเทียน หรือสักการะด้วยเครื่องหอมต่าง ๆ

ส่วนการปฏิบัติบูชา หมายถึง การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบด้วยการสวดมนต์ หรือการถือศีล รักษาศีล การทำจิตใจให้ผ่องใสไม่มัวหมอง การรู้กำหนดจิต ไม่ว่าจะนั่ง เดิน ยืน หรือนอน
*ทำบุญด้วยการถวายผ้าสบงจีวร แก่พระสงฆ์ หรือ บริจาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ทำให้ท่านไม่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม และยังมีภูมิต้านทานให้รอดพ้นจากอากาศหนาว หรือร้อนที่เปลี่ยนไปตามฤดูได้
*ทำบุญด้วยการตักบาตรพระสงฆ์ หรือบริจาคอาหารให้เป็นทาน ทำให้ไม่ขาดแคลนอาหารการกิน ไม่อดอยากหรือหิวโหย มีกินมีใช้อยู่เสมอ
*ทำบุญด้วยยารักษาโรค ท่านจะไม่เจ็บป่วยง่าย มีสุขภาพดี
*ทำบุญด้วยไฟ ไฟฉาย เทียน เมื่อท่านประสพปัญหาชีวิตก็จะมีหนทางแก้ไข มีช่องทางเป็นแสงสว่างแก่ชีวิต ไม่อับจนหนทาง ไปทางใดก็จะมีผู้ช่วยเหลืออยู่เสมอ ทำบุญด้วยการให้ชีวิต เช่นปล่อยปลา ท่านจะแคล้วคลาดจากอุบัติภัยต่าง ๆ จากผลบุญที่ช่วยเหลือผู้อื่นไว้
*ทำบุญด้วยการบริจาคโลหิต นอกจากจะมีผิวพรรณผุดผ่อง มีเลือดฝาดดี โรคภัยเกี่ยวกับระบบเลือดจะไม่แผ้วพาน ทำบุญด้วยการบริจาคดวงตา จะมีดวงตาที่แจ่มใส ไม่มืดมัว หรือตาบอด ด้วยอานิสสงฆ์ที่ตั้งใจบริจาคดวงตานั้น
*ทำบุญด้วยเงิน ไม่ว่าจะเป็นการทอดผ้าป่า ทอดกฐิน หรือช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากด้วยเงิน ก็จะทำให้ท่านไม่ขาดแคลนเงินที่จะใช้จ่าย มีกินมีใช้ตลอดไป

ธรรมของพระพุทธเจ้า

ธรรมของพระพุทธเจ้า
ี้เป็นบทต่อจาก ศาสดาของ กามนิต ซึ่งกล่าวถึงการสนทนาระหว่าง พระพุทธเจ้า กับ กามนิต ที่ กามนิต ระบุว่า ต้องการเป็น ศิษย์ ของ พระพุทธเจ้า โดยไม่รู้ว่า ผู้ที่ตนสนทนาอยู่ด้วยนั้นคือ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น และ กามนิต ได้แสดงความยินดีที่จะได้สดับ พระธรรม ที่ กามนิตเชื่อว่า คู่สนทนา ได้ฟัง มาจาก พระพุทธเจ้า จริง ๆ
ต่อไปนี้เป็นพระดำรัส ของ พระพุทธเจ้า ที่คัดลอกทั้งหมดจาก บทที่ สิบเก้า ของ หนังสืออ่านนอกเวลาวิชาภาษาไทย กามนิต ( ภาคพื้นดิน ) ของ เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป

และพระพุทธองค์ก็ตรัสว่า “ดูก่อน ภารดา พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธนั้น ได้ยัง จักร แห่งธรรมอันประเสริฐให้หมุนใกล้ อิสิปัตนะมฤคทายวัน จังหวัดพาราณสี ก็แหละ จักรแห่งธรรม นั้น อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง โลกนี้ ไม่พึงขัดขวางไว้มิให้หมุน ได้”

“พระธรรมที่ทรงประกาศ คือ ธรรมอันให้เห็นแจ้งความจริงอย่างยิ่ง สี่ ประการ สี่ ประการนั้นคืออะไร ? ได้แก่
ความจริงอย่างยิ่งคือ ทุกข์
ความจริงอย่างยิ่งคือ เหตุของทุกข์
ความจริงอย่างยิ่งคือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น และ
ความจริงอย่างยิ่งคือ ทางที่ไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น”

“ดูก่อนภารดา ความจริงอย่างยิ่งคือ ทุกข์ นั้น อย่างไร ? ได้แก่
ความเกิดมานี้เป็นทุกข์
ความมีชีวิตล่วงไป ๆ เป็นทุกข์
ความเจ็บปวดเป็นทุกข์
ความตายเป็นทุกข์
ความอาลัย
ความคร่ำครวญ
ความทนลำบาก
ความเสียใจและความคับใจล้วนเป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์
ความที่ไม่ได้สมประสงค์เป็นทุกข์
รวมความ บรรดาลักษณะต่าง ๆ เพื่อความยึดถือผูกพันย่อมนำทุกข์มาให้ทั้งนั้น
ดูก่อนภารดา นี่แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทุกข์”
“ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่งคือ เหตุของทุกข์ นั้น อย่างไร ? ได้แก่
ความกระหายซึ่งทำให้เกิดมีสิ่งต่าง ๆ อันความเพลิดเพลินใจ และความร่านเกิดตามไปด้วยเพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้น คือ
กระหายอยากให้มีไว้บ้าง
กระหายอยากให้คงอยู่บ้าง
กระหายอยากให้พ้นไปบ้าง
ดูก่อนภารดา นี้แหละความจริงอย่างยิ่ง คือ เหตุของทุกข์”

“ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น นั้น อย่างไร ? ได้แก่
ความดับสนิทแห่ง ความกระหาย นี้เอง มิใช่อื่น
ความเสียสละได้ ความปลดเสียได้ ความปล่อยเสียได้ซึ่ง ความกระหาย นั้นแหละ และ
การที่ความกระหายนั้นไม่ติดตัวพัวพันอยู่
ดูก่อนภารดา นี้แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ การดับทุกข์ทั้งสิ้น”

“ก็แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น นั้น อย่างไร ? ได้แก่
ทางอันประเสริฐมี องค์แปด คือ
ความเห็นชอบ
ความดำริชอบ
วาจาชอบ
การงานชอบ
เลี้ยงชีพชอบ
ความเพียรชอบ
ระลึกชอบ
ตั้งใจชอบ
ดูก่อนภารดา นี้แหละ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางไปถึงความดับทุกข์ทั้งสิ้น”

เมื่อพระศาสดา มีพระพุทธบรรหาร ด้วยอริยสัจเป็นเบื้องต้น ปานว่า ประดิษฐาน หลักศิลา ขึ้น สี่มุม ด้วยประการดั่งนี้แล้ว ก็ทรงยกพระธรรมทั้งมวลขึ้นตั้งประกอบ โดยอุบายให้เป็นดั่งเรือนยอดสำหรับเป็นที่อาศัยแห่งดวงจิตผู้สาวก ทรงจำแนกแยกอรรถออกเป็น ตอนเนื้อความ แล้วทรงชี้แจง กำกับกันไป เสมือนดั่งบุคคลตัดแท่งศิลาออกเป็นชิ้น ๆ แล้ว และขัดเกลาฉะนั้น ทรงเชื่อมตรงเนื้อความต่อเนื้อความ เสมือนบุคคลได้ลำดับซ้อนแท่งศิลาเหล่านั้น ผจงจัดดุจเป็นรากให้รับกันเองแน่นหนา มีสัมพันธ์เนื่องถึงกันตลอดเรียบร้อย ทรงนำหลักความเห็นแจ้งว่าสิ่งทั้งปวง ย่อมแปรปรวนเข้าประกอบกับหลัก ความเห็นแจ้งว่า สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ แล้วเชื่อมหลักทั้งสองนี้เป็นดั่ง ซุ้มทวาร ด้วยเครื่องประสาน คือ มนสิการ อันแน่นแฟ้น ที่ว่าสภาวธรรมทั้งปวงล้วนเป็น อนัตตา – เลือกเอาไม่ได้ ทรงนำสาวกเข้าสู่ทวารอันมั่นคงนี้ คราวละขั้นเป็นลำดับไป แล้วย้อนลงย้อนขึ้นหลายครั้งหลายครา โดยขั้นบันไดอันสร้างไว้มั่นคงแล้ว คือ ปฏิจจสมุปบาทหลักธรรม อันมีเหตุผลอาศัยกันเองเกิดขึ้นเป็นชั้น ๆ สืบเนื่องดั่งลูกโซ่ซึ่งมั่นคงเต็มที่อยู่ทั่วไป

อันว่า นายช่างผู้เชี่ยวชาญก่อสร้างปราสาทมโหฬาร ย่อมเพิ่ม รูปสิลาจำหลัก ไว้ในที่สมควร ตามทำนอง มิใช่จะใช้เป็นเครื่องประดับเท่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์รองรับหรือค้ำจุนที่บางแห่งนั้นไว้ด้วยข้อความนี้ อุปมาฉันใด พระศาสดาในบางคราวย่อมทรงชักเอาเรื่องเปรียบเทียบ เป็นภาษิต ที่น่าฟังและสมด้วยกาลสมัย ขึ้นแสดง ก็อุปไมยฉันเดียวกัน เพราะทรงเห็นว่า เทศนาวิธี ที่ชักอุทาหรณ์ ขึ้นสาธก เปรียบเทียบ ย่อมกระทำให้ พระธรรม อันประณีตลึกซึ้งที่ทรงสำแดงหลายข้อ ให้แจ่มแจ้งขึ้นได้แก่บาง เวไนยชน
ในท้ายแห่งเทศนา พระองค์ทรงประมวล พระธรรม บรรยายทั้งหมดในคราวเดียวกัน เสมือนด้วย เรือน อันตะล่อมขึ้นด้วยยอดเด่น เห็นเป็นสง่างามรุ่งเรืองได้แต่ไกลด้วยพระวาจาว่า ดั่งนี้ “ดูก่อนอาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ ความเกาะเกี่ยวใคร่กระหายต่อความเกิด ย่อมเป็นเหตุให้ถึงความเกิด หากตัดความใคร่กระหายเช่นนั้นเสียได้ขาด ท่านก็ย่อมไม่เกิดในภพใด ๆ อีก”

“อันภิกษุ ผู้พ้นจากการเกาะเกี่ยวยึดถือพึงใคร่ในอารมณ์ใด ๆ แล้ว ย่อมบังเกิดญาณความรู้แจ้งขึ้นภายในจิตอันสงบแจ่มใส ปราศจาก อวิชชา ความมืดมัวว่า วิมุตติ ความหลุดพ้นนั้นบัดนี้เป็นผลประจักษ์แล้ว นี้คือ ความเกิดเป็นครั้งที่สุด สิ้นความเกิดใหม่ในภพโน้นแล้ว”

“ภิกษุผู้บรรลุธรรมปานนี้ ย่อมได้รับตอบแทนคือ ธรรม อันล้ำเลิศนั้นคือ อะไร ? ได้แก่ ญาณ อันรู้ว่า ทุกข์ทั้งปวง ดับหมดแล้ว ผู้ใดได้รับรสพระธรรมนี้ ก็ย่อมพบ ความหลุดพ้น อันเป็นผลเที่ยงไม่แปรผัน เพราะสิ่งใดไร้สาระเป็นอยู่ชั่วขณะ สิ่งนั้นไม่ใช่ของจริง และเป็นที่สุดแห่งสิ่งมายาทั้งปวง”

“ผู้ใดจำเดิมมาแต่ต้นทีเดียว ตกอยู่ในความเกิด ในความสืบชีวิต เปลี่ยน ๆ ไปในความตาย และบัดนี้ได้กำหนดรู้ไว้ดีแล้วซึ่งลักษณะแห่งสภาพอันเป็นพิษนี้ ผู้นั้นย่อมชนะตนเองแล้วถึงซึ่งความพ้นภัยในความเกิด ความแก่ และความตาย และเขาซึ่งเคยตกอยู่ในโรคาดูร ในมลทินกิเลสในบาป ผู้นั้น ณ บัดนี้ ได้ความรับรองแน่นอนแล้วว่า ไม่มีพิการแปรผัน อันเป็นผลสะอาดหมดจดและเป็นบุณย์-“

“เราพ้นแล้ว ความหลุดพ้นได้ประจักษ์แล้ว ชาติหยุดเพียงนี้แล้ว กรณียะของเราสำเร็จแล้ว โลกนี้หยุดอยู่แก่เราไม่สืบต่อไปอีกแล้ว”

“ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้สำเร็จแล้ว เพราะเขาเสร็จสิ้นธุระและถึงที่สุดบรรดาความทุกข์ยากทั้งปวง”

“ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้ได้ขจัดแล้ว เพราะเขาได้ขจัดแล้วซึ่ง อุปทาน ( ความออกรับ ) ? ว่า “ ตัวเรา” และ “ของเรา”

“ดูก่อน อาคันตุกะผู้แสวงบุณย์ นรชน ผู้มีญาณทรรศนะเช่นนี้ ชื่อว่า ผู้ถอนแล้ว เพราะเขาได้ถอนแล้วซึ่งต้นไม้ คือ ความมีความเป็นตลอดกระทั่งราก มิให้เหลือเชื้อเกิดขึ้นได้อีก”

“บุคคลมีลักษณะเช่นนี้ ตราบเท่าที่ยังมีร่างอยู่ เทวดาและมนุษย์คงเห็นได้ แต่เมื่อร่างสลายเพราะความตายแล้ว เทวดาและมนุษย์มิได้เห็นต่อไป แม้แต่ธรรมดาผู้เห็นได้ตลอด ก็ไม่เห็นเขาคนนั้นอีก ผู้นั้นได้ทำให้ธรรมดาถึงความบอดแล้ว เขาพ้นจากมารแล้ว ได้ข้าม ห้วงมหรรณพ ที่ต้องแหวกว่ายวนเกิดเวียนตาย ถึงเกาะอันเป็นแหล่งเดียวที่ผุดพ้นเหนือ ความเกิด ความตาย กล่าวคือ พระอมฤตมหานิรพาน”


จากผู้เขียน
บทนี้ เป็น พระธรรม ที่ยิ่งใหญ่ ของ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ สี่ ที่จะนำ สาธุชน ให้ถึง นิพพาน ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ประพฤติ ปฏิบัติ ที่เข้าใจในพระธรรมสำคัญนี้เอง




พลตรี ชูเกียรติ มุ่งมิตร ผู้ชำนาญการกองทัพบก

ปี 2550 กับความภูมิใจ

ปัจจุบันการแข่งขันมีสูงและการมีความสุขและความรัก...ให้กับตนเองนั้นควรมี ในปี 2550 มีความภูมิใจที่ได้รับสิ่งต่าง ดังนี้